การจัดการองค์ความรู้ในองค์กรคืออะไร ?

องค์ความรู้ หมายถึง ความรู้ที่อยู่ในศาสตร์ เช่น ความคิดรวบยอด หลักการ วิธีการ ที่อยู่ในตำรา หรือในห้องสมุด ซึ่งอยู่นอกตัวบุคคล ที่สั่งสมกันมารุ่นต่อรุ่น เพื่อนให้ลูกหลานรุ่นหลังได้เรียนรู้

องค์ความรู้ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อาจจะเกิดขึ้นจากการถ่ายทอกเหตุการณ์หรือประสบการณ์ หรือจากการวิเคราะห์ข้อมูล โดยความรู้ที่เกิดขึ้นมานั่นผู้จะรับต้องนำไปใช้ได้โดยตรงหรือ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์หรืองานที่ทำอยู่ โดยความรู้ที่เกิดขั้นนั้นผู้รับจพสามารถนำไปปรับใช้ในลักษณะต่างๆได้

ลักษณะสำคัญขององค์ความรู้กับองค์กร
  • มีลักษณะเป็นนามธรรรม
  • มักจะเกิดขึ้นเฉพาะบุคคล มักจะติดบุคคลมากกว่าไปตกที่องค์กร
  • ถือเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งที่ทรงคุณค่าขององค์กรที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรในระยะสั้นและระยะยาว
ประเภทของความรู้

ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา และอื่นๆ ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้แฝงเร้น อยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกัน

  • ความรู้แบบฝังลึก

เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้คำพูดได้ มีรากฐานมาจากการกระทำและประสบการณ์ มีลักษณะเป็นความเชื่อ ทักษะ และเป็นอัตวิสัย ต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีบริบทเฉพาะทำให้เป็นทางการและสื่อสารยาก

  • ความรู้ชัดแจ้ง

เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย จัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ เป็นทฤษฎี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดความรู้ เช่น นโยบายขององค์กร กระบวนการทำงาน ความรู้ยิ่งมีลักษณะไม่ชัดแจ้งมากเท่าไร การถ่ายโอนความรู้ยิ่งกระทำได้ยากเท่านั้น ดังนั้นบางคนจึงเรียกความรู้ประเภทนี้ว่าเป็นความรู้แบบเหนียวหรือความรู้แบบฝังอยู่ภายใน ส่วนความรู้แบบชัดแจ้งมีการถ่ายโอนและแบ่งปันง่าย จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ความรู้แบบรั่วไหลได้ง่าย ความสัมพันธ์ของความรู้ทั้งสองประเภทเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ ต้องอาศัยซึ่งกันและกันความรู้ทั้งแบบแฝงเร้นและแบบชัดแจ้งจะมีการแปรเปลี่ยนถ่ายทอดไปตามกลไกต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดความรู้ การผสานความรู้ และการซึมซับความรู้ การจัดการความรู้นั้นมีหลายรูปแบบ มีหลากหลายโมเดล แต่ที่น่าสนใจ คือ การจัดการความรู้ ที่ทำให้คนเคารพศักดิ์ศรีของคนอื่น เป็นรูปแบบการจัดการความรู้ที่เชื่อว่า ทุกคนมีความรู้ปฏิบัติในระดับความชำนาญที่ต่างกัน เคารพความรู้ที่อยู่ในคน เพราะหากถ้าเคารพความรู้ในตำราวิชาการอย่างเดียวนั้น ก็เท่ากับว่าเป็นการมองว่า คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ เป็นคนที่ไม่มีความรู้

การจัดการความรู้

คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด
การจัดองค์ความรู้ เป็นกระบวนการในการล้วงความจริงภายในองค์กรออกมา จากนั้นทำการเปลี่ยนรูปและเผยแพร่องค์ความรู้นั้นผ่านทางหน่วยงานต่างๆ องค์กร จะทำการเปลี่ยนรูปข้อมูลและข่าวสารให้อยู่ในรูปขององค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหาได้ และต้องสามารถใช้ได้ผลกับทุก ๆ หน่วยงาน และกับทุก ๆ คน ภายในองค์กร

วัตถุประสงค์ของการจัดการองค์ความรู้

มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้

  • เพื่อสร้างระบบจัดเก็บองค์ความรู้
  • เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงองค์ความรู้
  • เพื่อยกระดับสภาพแวดล้อมขององค์ความรู้ให้ดีขึ้น
  • เพื่อจัดการองค์ความรู้ให้เป็นทรัพย์สินที่มีค่า และมีประโยชน์
ข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดองค์ความรู้

ต้องกำหนดคำนิยามความหมายขององค์ความรู้ให้ชัดเจน และสิ่งที่ทิ้งท้ายที่สุดในการจัดการองค์ความรู้ ก็คือ ความชัดเจนในทุกๆด้านตั้งแต่การอธิบายความหมายของความรู้นั้น อุปสรรคที่จะผ่านพ้นไปได้ ผลประโยชน์ที่ชัดเจนซึ่งต้องมีมากพอที่จะทำให้เกิดระบบจัดการองค์ความรู้ รวมถึงเครื่องมือและเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้งานร่วมด้วย

เครื่องมือในการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ประกอบด้วย กระบวนการหลักๆ ได้แก่ การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ใหม่ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ สุดท้าย คือ การเรียนรู้และเพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรเครื่องมือหลากหลายประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้

ขอบคุณข้อมูลจาก :

Related Posts