Peer-Assist การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน

“เพื่อนช่วยเพื่อน” หรือ “Peer Assist” ในการจัดการความรู้ในองค์กรนั้น เป็นแนวคิดและเครื่องมือที่ดีเครื่องมือหนึ่งในการใช้งานบริหารจัดการความรู้ในองค์กรเป็นเครื่องมือ KM ที่ดีชิ้นเลยทีเดียว

แล้ว Peer Assisted หมายถึงอะไรกันแน่

Peer Assist หมายถึง การประชุมหรือการปฏิบัติการร่วมกันโดยมีผู้ที่ได้รับเชิญจากทีมอื่นๆ มาแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ กับทีมเจ้าบ้านที่เป็นผู้ร้องขอความช่วยเหลือ ซึ่งเป็นกลไกการเรียนรู้ก่อนลงมือทำกิจกรรมเพื่อให้รู้ว่าใครรู้อะไร และไม่ทำซ้ำในสิ่งที่เคยมีผู้ทำพลาด ตลอดจนเรียนรู้วิธีลัดและสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนจากประสบการณ์ของทีมภายนอก ทำให้ได้มุมมองการทำงานหรือการแก้ปัญหาใหม่ๆ และเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านการเชื่อมโยงติดต่อระหว่างบุคคล สร้างความรู้ใหม่ๆร่วมกันและเกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายบุคคลที่เข้มแข็งมากขึ้น

อย่างที่เรารู้กันว่าการจัดการความรู้นั้นมีหลักใหญ่ใจความอยู่ 2 อย่างคือ

  1. เครื่องมือที่ช่วยในการ “ เข้าถึง ความรู้ ” ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Explicit
  2. เครื่องมือที่ช่วยในการ “ ถ่ายทอด ความรู้ ”ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ประเภท Tacit

ซึ่งต้องอาศัยการถ่ายทอด โดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นหลัก การทำ Peer Assist นับเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่ช่วยในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ โดยอาศัย “คน” เป็นธงนำ (People Driven) ผ่านการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ก่อนการทำกิจกรรมหรืองานใด ๆ ซึ่งการทำ Peer Assist จะช่วยเปลี่ยนความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) ให้กลายมาเป็นความรู้ถ่ายทอดได้ (Explicit Knowledge) และความรู้ที่ได้จากการร่วมวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อผ่านการใช้งานจริง ก็จะกลายเป็นความรู้ในตัวบุคคลที่เพิ่มจำนวน “ผู้รู้” มากยิ่งขึ้น และเมื่อยิ่ง “รู้” ก่อน “ทำ” มากขึ้นก็จะช่วยให้โอกาสในการทำผิดพลาดน้อยลง

วิธีการแบบ Peer Assist หรือ “เพื่อนช่วยเพื่อน” สามารถทำได้ ดังนี้

  1. กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าทำ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ทำไปเพื่ออะไร อะไรคือต้นตอของปัญหาที่ต้องการขอความช่วยเหลือ
  2. จัดหาวิทยากร หรือบุคลากร โดยตรวจสอบว่าใครที่เคยแก้ปัญหาที่เราพบมาก่อนบ้างหรือไม่ โดยทำแจ้งแผนการทำ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ของทีมให้หน่วยงานอื่นๆ ได้รับรู้ เพื่อหาผู้ที่รู้ในปัญหาดังกล่าว
  3. กำหนด Facilitator หรือผู้สนับสนุน และอำนวยความสะดวกในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
  4. คำนึงถึงการวางตารางเวลาให้เหมาะสมและทันต่อการนำไปใช้งาน หรือการปฏิบัติจริง โดยอาจเผื่อเวลาสำหรับปัญหาที่ไม่คาดคิดที่อาจจะเกิดขึ้น
  5. เลือกผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย (Diverse) ทั้งด้านทักษะ (Skill) ความสามารถ/ความเชี่ยวชาญ (Competencies) และประสบการณ์ (Experience) สำหรับจำนวนผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนอยู่ที่ความเหมาะสมตามการพิจารณาแต่ละโครงการ
  6. มุ่งหาผลลัพธ์หรือสิ่งที่ต้องการได้รับจริงๆ กล่าวคือ การทำ “เพื่อนช่วยเพื่อน” นั้นจะต้องมองให้ทะลุถึงปัญหา สร้างทางเลือกหลายๆ ทาง มากกว่าที่จะใช้คำตอบสำเร็จรูปทางใดทางหนึ่ง
  7. วางแผนเวลาสำหรับการพบปะสังสรรค์ทางสังคม หรือการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ (นอกรอบ) สร้างบรรยากาศความกลมเกลียวทั้งในแผนก ระหว่างแผนก และองค์กรที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้
  8. กำหนดบทบาทของแต่ละฝ่ายให้ชัดเจน ตลอดจนสร้างบรรยากาศ เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
  9. แบ่งเวลาที่มีอยู่ออกเป็น 4 ส่วน คือ
  • ส่วนแรกใช้สำหรับทีมเจ้าบ้านแบ่งปันข้อมูล (Information) บริบท (Context) รวมทั้งแผนงานในอนาคต
  • ส่วนที่สองใช้สนับสนุน หรือกระตุ้นให้ทีมผู้ช่วยซึ่งเป็นทีมเยือนได้ซักถามในสิ่งที่เขาจำเป็นต้องรู้
  • ส่วนที่สาม ใช้เพื่อให้ทีมผู้ช่วยซึ่งเป็นทีมเยือนได้นำเสนอมุมมองความคิด เพื่อให้ทีมเจ้าบ้านนำสิ่งที่ได้ฟังไปวิเคราะห์
  • ส่วนที่สี่ ใช้สำหรับการพูดคุยโต้ตอบ พิจารณาไตร่ตรองสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ประโยชน์ของ “เพื่อนช่วยเพื่อน”

  • เป็นการเรียนลัดวิธีการเรียน การทำงานต่างๆที่เราอาจจะเคยทราบมาก่อน สิ่งเหล่านี้จะมาจากประสบการณ์ เทคนิควิธีต่างๆของคู่เพื่อนช่วยเพื่อนหรือทีมเพื่อนช่วยเพื่อน
  • เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ มุมมองความคิดต่างๆร่วมกันเพื่อช่วยกันพัฒนาความรู้เดิมที่มีอยู่ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • สร้างความสัมพันธ์และความสามัคคี เพราะกระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อนต้องเกิดจากการทำงานเป็นคู่หรือเป็นทีม ดังนั้นการมีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อกันย่อมทำให้เกิดผลการเรียนรู้ที่ดีตามมา

“อย่างที่รู้กัน HR

คือฝ่ายที่จะมีส่วนอย่างมากในการพลักดันให้เกิดการสร้างการเรียนรู้ ภายในองค์กร การนำเครื่องมือ Peer Assist หรือหลักการ “เพื่อนช่วยเพื่อน” มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมภายในองค์กรนอกจากจะทำให้พนักงานมีความสามัคคีกลมเกลียวกันมาขึ้น ยังทำให้การทำงานภายในองค์กรมีความสุข เต็มไปด้วยมิตรภาพ และสุดท้ายสร้างประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/115351

รูปภาพ https://www.pexels.com/

Related Posts