สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ ด้วย KM TOOL “Coaching”

เครื่องมือการจัดการความรู้ในองค์กร หรือ KM Tool มีมากมายหลายแบบให้องค์กรเลือกใช้ตามเป้าหมาย และความเหมาะสมในแต่ละองค์กร การโค้ช หรือ Coaching ก็เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้ในองค์กรเช่นกัน

Coaching คืออะไร?

การโค้ช (Coaching) คือ การพัฒนาและช่วยเหลือให้บุคคลหรือ กลุ่มบุคคลประสบความสำเร็จได้ด้วยวิธีการที่เขาเป็นผู้คิดและตระหนักรู้ได้เอง บนความรู้ความสามารถ (ศักยภาพ) ที่ซ่อนอยู่ แล้วนำไปสู่การลงมือปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นแล้วบรรลุเป้าหมาย ด้วยความเชื่อมั่นและเต็มใจ

การสร้างวัฒนธรรมโค้ชในองค์กร (Creating Coaching Culture) จึงเป็นการทำให้บุคลากรทุกระดับภายในองค์กร มองเห็นประโยชน์ของการพัฒนาและช่วยเหลือกัน ผ่านการเข้าใจในศักยภาพของแต่ละคน แล้วเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและเกิดการตระหนักรู้ ด้วยตัวเองกับวิธีการที่จะนำไปสู่ เป้าหมายของตัวเองได้ด้วยความเชื่อมั่น ซึ่งกันและกัน

Coaching ดีอย่างไร?

การดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากพนักงานให้ออกมาใช้ได้มากที่สุด รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมายขององค์กร ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของผู้นำและหัวหน้าในการบริหารผลการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ (Performance Management) นอกจากนี้ ในการสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กรนั้น ยังมีข้อดีอีกดังนี้

4 ข้อดีในการสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กร (Benefit of Coaching Culture)

  1. ช่วยกระตุ้นและสร้างการตระหนักรู้ (Activation and Awareness )

ด้วยทักษะการโค้ชนั้น จะทำให้สามารถกระตุ้นและสร้างการตระหนักรู้ให้กับบุคคลที่ได้รับการโค้ชได้ รู้จุดเด่น จุดแข็ง หรือจัดที่ต้องปรับปรุงพัฒนา เป็นการสร้างการรับรู้ของบุคคลากรที่เรายังอาจจะไม่รู้ว่า แต่ละคนมีจุดแข็งอะไรบ้าง และดึงจุดแข็งของแต่ละคนออกมาได้ที่จะช่วยให้บุคคลากรมีการตระหนักรู้ตัวเอง เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรมีคนเก่ง คนดี เติบโตอย่างยั่งยืนด้วย

2.เป็นการให้อำนาจและสร้างความมีส่วนร่วม (Empowers and engagement)

การโค้ช เป็นวิธีการที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอความคิดดีๆออกมา และสามารถนำไปดำเนินการได้ตามวิธีที่คิด และยังตอบโจทย์ขององค์กร ซึ่งเป็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานและพนักงาน ให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก นำเสนอสิ่งใหม่ๆ

  1. เป็นเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคล (performance improvement and high potential employees development)

การโค้ชเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งในการช่วยพัฒนาพนักงานที่มีศักยภาพสูง รวมทั้งเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพของแต่ละบุคคลด้วย เพิ่มขีดความสามารถให้บุคคลกรเก่งขึ้นได้ มีการเปิดโอกาสให้พนักงานมีคิด ทำสิ่งใหม่ๆ มีการสื่อสารด้วยคำถามปลายเปิด ที่ก่อให้เกิดไอเดียดีๆ มีการฟังกันมากขึ้น ตลอดจนการให้ข้อมูลป้อนกลับ เกิดการสื่อสารที่ดี สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งก่อเกิดการร่วมมือการทำงานอย่างเป็นทีมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  1. แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นขององค์กรในการพัฒนาบุคลากร (Demonstrates organizational commitment to human resource development)

ปัจจุบันการโค้ช เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ฝ่ายพัฒนาบุคคลากรขององค์กร นำมาใช้ในการพัฒนาบุคคลากรทั้งรายบุคคล รายกลุ่ม และทั้งองค์กร เพราะในส่วนเก๋ได้มีโอกาสไปแบ่งปันเรื่องของการโค้ช ทั้งในรูปแบบ ของ Training , Group Coaching และ one on one coach ตลอดจนเป็นโค้ชพี่เลี้ยงให้กับผู้บริหารในองค์กร ซึ่งหลายๆองค์กรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคคลากร เพราะเชื่อว่า คนทำงานคือทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร และการโค้ชเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้การพัฒนาองค์กรเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

ารโค้ช (Coaching) ไม่ใช่เรื่องใหม่ทั้งหมด เพียงแต่หลักการของการโค้ช มีความละเอียดอ่อน การสร้างวัฒนธรรมการโค้ช สามารถเริ่มต้นได้ที่แนวความคิดของผู้บริหารที่พร้อมจะเปิดโอกาสให้บุคลากรได้คิด และมีส่วนคิดด้วยตัวเอง มากกว่าการต้องสั่งให้ทำตาม เพราะต้องการให้พนักงานได้ใช้ศักยภาพของเขาอย่างเต็มที่ ซึ่งจะนำไปสู่การลงมือทำด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่การบังคับ โดยตลอดการเดินทางจะมีผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่คอยเป็นพี่เลี้ยง ช่วยเหลือแบบการกระตุ้นให้สร้างแนวคิดของตัวเองออกมา เพื่อสร้างความมั่นใจให้พนักงาน และเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ เมื่อทีมงานสามารถนำความรู้ความสามารถตัวเองออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเองแล้ว ก็จะมีการส่งต่อความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ภายในองค์กร จนเกิดเป็นวัฒนธรรมการโค้ชต่อไป

“การโค้ช (Coaching ) นอกจากหัวหน้างาน ผู้นำทีม จะนำไปใช้แล้ว ในส่วนพนักงานสามารถสร้างบทบาทของพี่เลี้ยง (Mentoring in organization) ในการสร้างความสัมพันธ์พนักงานใหม่ๆ หรือพนักงานรุ่นน้องภายในองค์กร ให้เกิดการแบ่งปัน การถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ระหว่างกัน รวมถึงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานในองค์กรได้เป็นอย่างดีอีกด้วย…”

 

ที่มา https://www.entraining.net/

https://www.hcdcoaching.com/17026989/ โดยศศิมา สุขสว่าง

รูปภาพ https://www.pexels.com/

Related Posts