เพื่อการสื่อสารกันที่รวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งต่อข้อมูลระหว่างกัน เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน ภายในองค์กร การนำสุนทรียสนทนา หรือ Dialogue เข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน เพื่อโอการและการสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ ร่วมกัน แนวทางปฏิบัติจึงสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นตัวช่วยให้การเสวนา หรือการประชุมเป็นไปด้วยบรรยากาศที่ดี บทความนี้เราจะมานำเสนอกันต่อในอีก สองหัวข้อที่เหลือ ของหลักการปฏิบัติของสุนทรีสนทนา ที่ติดข้างกันไว้จาก EP ที่ผ่านมา

4หลักการปฏิบัติของสุนทรีสนทนา
3. Suspending
Suspending หรือการห้อยแขวน คือการรับรู้และเข้าใจว่าอะไรเกิดขึ้นในใจของเรา ไม่ว่าจะเป็นความคิด ความรู้สึก ความมั่นใจ การตัดสิน เสียงหรือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะได้รับการอนุญาตให้เกิดขึ้น เพื่อที่เราและคนอื่นจะสามารถมองเห็น และทำความเข้าใจได้ สิ่งที่เราคิดไม่ใช่สิ่งที่เราเป็น และไม่ใช่สิ่งที่เป็นเรา
Isaacs ได้เสนอระดับของ suspending ไว้ว่าในขั้นแรกคือการเปิดรับเนื้อหาของสิ่งที่เกิดขึ้นที่เราสามารถรับรู้ได้ เช่นความคิด ความรู้สึก ความเห็น เพื่อที่เราจะสามารถรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น ในขั้นถัดไปคือการรับรู้หรือตระหนักรู้ว่าความคิดหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในคนๆ หนึ่งเป็นสิ่งที่มีความเป็นปัจเจกเฉพาะในบริบทของประสบการณ์และความทรงจำ ดังนั้นความคิดเหล่านี้คือผลผลิตของสิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่ความจริงของโลกภายนอก เราสามารถปฏิบัติตามหลักเหล่านี้เพื่อฝึกฝน suspending ใน dialogue ได้
ห้อยแขวนความแน่นอน
คือการมองความคิดว่าเป็นเสมือนสิ่งๆ หนึ่ง ไม่ใช่เป็นแผนที่ของโลกภายนอก และถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรามีความมั่นใจกับมัน
มองหาสิ่งที่วางอยู่รอบๆ
ห้อยแขวนความแตกต่าง การแบ่งแยกเป็นขั้ว และมองหาสิ่งที่อยู่ระหว่างและอยู่รอบๆ ของสิ่งเหล่านั้น เพราะในวัฒนธรรมของเรายึดติดกับ positioning ใน dialogue ความคิดแบบ positional thinking จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของทั้งหมดเท่านั้น ไม่ได้เป็นสองสิ่งที่แตกต่างกันเพื่อที่จะหาคำตอบที่ถูกต้อง
Re-framing
Re-framing เพื่อเปลี่ยนมุมมองของความคิด โดยพยายามมองผู้คนด้วยมุมมองที่แตกต่างกัน นำความคิดออกมาสู่ภายนอก การนำความคิดหรือปัญหาข้อถกเถียงของเราออกมาสู่ภายนอกช่วยทำให้เราสามารถทำงานกับมันได้อย่างเป็นกลุ่ม
ถามคำถามว่า อะไรที่เราขาดหายหรือหลงลืมไป? ปัญหานี้มันมีการดำเนินไปอย่างไร? การพิจารณาว่าอะไรที่หายไปอย่างเป็นระบบในการสนทนาว่า ปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไร อะไรเกิดขึ้นในปัญหาเป็นอย่างไร แทนที่จะมองหาทางแก้ปัญหาในทันที

4. Voicing
Voicing คือ การเปิดเผยเสียงที่อยู่ภายใน สามารถทำได้ด้วยการกลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องราวภายในเพื่อที่จะพูดออกไป เพราะการพูดหรือการเล่าเริ่มต้นจากการฟังเสียงจากภายใน โดยการฟังอย่างใส่ใจเราจะสามารถเลือกได้ว่าจะพูดอะไรและไม่พูดอะไร ณ ตอนนั้น ความเงียบเป็นสิ่งที่เหมือนทำให้ความคิดค่อยๆ ก่อตัวขึ้นมาก่อนที่จะได้สื่อสารออกไปไม่ใช่เป็นเพียงความไม่รู้หรือความไม่มี ในทางกลับกันในบริบทอื่นๆ เราสามารถพูดหลากหลายสิ่งโดยที่เราไม่ได้รู้เกี่ยวกับสิ่งๆ นั้นได้ว่าเรากำลังต้องการอะไร หรือเราสื่อสารอะไร เราสามารถปฏิบัติตามหลักเหล่านี้เพื่อฝึกฝน voicing ได้
บรรเลงบทเพลงของคุณ
ค้นหาและมีความกล้าที่จะพูดเสียงของตัวเองเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับหลายคน โดยเฉพาะกับเรื่องที่มีความเปราะบาง เราอาจสามารถถามได้ว่าถ้าหากเราไม่พูดเรื่องนี้แล้วใครจะพูด
พิจารณาความเสี่ยง
พิจารณาดูว่าอะไรเป็นความเสี่ยงหากเราพูดหรือไม่พูด ลองดูสิ่งที่เราพยายามต้องการสร้างขึ้น
Improvisation
พูดจากความทรงจำหรือประสบการณ์ โดยไม่ต้องมีการเรียบเรียงใดๆ ก่อนเช่นเดียวกันกับการ improvise ในดนตรี
ถามว่าฉันอยากรู้ไปเพื่ออะไร
เพื่อที่ทำให้เรากลับมาอยู่ภายในกับสิ่งที่เราใส่ใจจริงๆและเตรียมตัวที่จะพูดเสียงของเราออกไป สำหรับ voicing เราสามารถนึกถึงอะไรสิ่งที่มีความ “สด เปลือย เปราะบาง” ภายในจิตใจของเรา
- สด หมายถึงการพูดหรือเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ใช่การนำสิ่งที่เคยเกิดขึ้นหรือปัจจุบันมาเล่า
- เปลือย หมายถึงการพูดสิ่งที่มากจากตัวเองโดยไม่ได้มีเครื่องป้องกันมาห่อหุ้มให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย
- เปราะบาง หมายถึงการได้มีโอกาสเข้าไปอยู่กับความยากลำบากในการเผชิญหน้ากับสิ่งที่เกิดขึ้น
- ถามคำถามว่า อะไรที่เราขาดหายหรือหลงลืมไป? ปัญหานี้มันมีการดำเนินไปอย่างไร?

แนวทางการทำ Dialogue
- ในกรณีเพิ่งเริ่มต้นทำใหม่การให้สิทธิ์ สหรับผู้พูดเป็นสิ่งสำคัญ อาจใช้สัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าผู้ถือสัญลักษณ์นี้เท่านั้นจะมีสิทธิ์พูด ในขณะนั้น
- ผู้พูด ควรพูดในลักษณะไม่มองเจาะจงไปที่ตัวบุคคล ให้มองตรงกลาง มองโดยรวมทั้งกลุ่ม
- ผู้พูด เล่าได้อย่าอิสระ จากประสบการณ์จริง (ความคิด ความเชื่อ จากใจ และการกระทำ)
- ผู้ฟัง ควรยึดหลักการฟัง ตั้งใจ ให้เกรียรติ ฟังอย่างลึกซึ้ง ไม่ตัดสิน ถูกผิด ไม่โต้เถียง
- ผู้ฟัง ถามเพื่อความกระจ่าง ในส่วนที่สงสัยอย่างสร้างสรรค์และมีคุณค่า เมื่อถึงโอกาสในการซักถาม
- สร้างบรรยากาศความเท่าเทียมในการรวมกลุ่ม ไม่มีผู้นำ ไม่มีผู้ตาม
- ปล่อยให้ความเงียบที่เกิดขึ้นระหว่างพูดเป็นตัวสะท้อนความคิด

การเริ่มต้น
เชิญชวนสมาชิกร่วมวงสนทนา 7-10 คน นั่งล้อมวง ให้ทุกคนเห็นหน้ากันทั้งหมด มีผู้ดำเนินการเสวนา ทำหน้าที่จัดการกระบวนการ ดูแลความราบรื่นในการสนทนาของกลุ่ม มีการกำหนดกติกาในการสนทนาร่วมกัน (แนวทางการทำ
Dialogue) โดย ผู้ดำเนินการเสวนา จะแจ้งกฎกติกาให้ผู้ร่วมสนทนาทุกคนทราบ เช่น ฟังอย่างตั้งใจ ห้ามซักถาม พูด
ได้เฉพาะคนที่ได้รับสิทธิ์เป็นต้น หลังจากอธิบายกติกาเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ร่วมวงเริ่มสนทนาวนไปเรื่อย ๆ หลังจากผ่านไป 3- 4 คน สามารถกลับมาพูดอีกครั้งได้โดยที่ทุกคนพึงรักษากติกาไว้ในใจ เพื่อไม่ให้รบกวนผู้ร่วมวงสนทนาท่านอื่น ๆ อาจมีบัตรคําวางไว้ส่วนกลาง เพื่อให้ ผู้ดำเนินการ ใช้เตือนผู้ร่วมวงสนทนาหากผิดกติกาขณะทำ Dialogue แต่ถ้าผู้ร่วมวงมีกติกา หรือแนวทางปฏิบัติ4ข้อที่เราได้เรียนรู้กันมาข้างต้นอย่างดี และพร้อมปฏิบัติตามหลักอย่างเคร่งครัด ผู้ดำเนินการ หรือการใช้สัญลักษณ์ให้สิทธิ์ผู้พูดอาจไม่จำเป็นอีกต่อไป

นี่ก็เป็นหลักการปฏิบัติของสุนทรีสนทนาที่นำมาฝากกัน หวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อการจัดการ KM และการประชุม เพื่อสร้างสรรค์โอกาส การพูดและสื่อสารให้กับวงสนาทนา ที่ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมด้วยกัน กับความเป็นทุกส่วนของวง dialogue และทำให้ทุกคนสามารถแบ่งปันให้กันอย่างมีความสร้างสรรค์ เพื่อประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาองค์กร เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันภายในกลุ่ม และองค์กร…
ที่มา https://www.urbinner.com/post/dialogue-4-principles
https://www2.si.mahidol.ac.th/km/knowledgeassets/kmexperience/kmarticle/2329/