What Do You Know About Knowledge Management?
Knowledge Management
คือ การบริหารจัดการความรู้ที่ได้จากการสร้าง, คิดค้น, แลกเปลี่ยน, รวบรวม, จัดระเบียบ และประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้ทั้งจากตำรา และการถ่ายทอดจากตัวบุคคลมาบูรณาการเป็นข้อมูลสารสนเทศ เพื่อให้เกิดความรู้, ปัญญา และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ภายในองค์กรต่างๆ เปรียบเสมือนเป็นตัวช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การจัดการองค์ความรู้ประกอบไปด้วย ชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะสร้าง แสดง แจกแจง และกระจายความรู้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการนำไปใช้และเรียนรู้ภายในองค์กร จนกระทั่งนำไปสู่การพัฒนาการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่ส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์
ประเภทของความรู้
ความรู้แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- Explicit Knowledge คือ ความรู้ที่ชัดแจ้ง(รูปธรรม) – เป็นความรู้ที่ผ่านการวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผลจนเป็นหลักการทั่วไป สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาเป็นการบันทึกแบบลายลักษณ์อักษร ตำรา ทฤษฎี หนังสือหรือคู่มือต่างๆ
- Tacit Knowledge คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน(นามธรรม) – เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวของบุคคล เกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคล ยากที่จะถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดและลายลักษณ์อักษร แต่สามารถพัฒนาและแบ่งบันกันได้ ก่อให้ความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การคิดวิเคราะห์ งานฝีมือ หรือทักษะในงานเฉพาะด้านต่างๆ เป็นต้น
ผลของ KNOWLEDGE MANAGEMENT
- ผลผลิต : มีการปรับเปลี่ยน พัฒนาผลผลิตให้ดีขึ้น และได้นวัตกรรมใหม่ๆ
- บุคลากร : มีการเรียนรู้ และพัฒนาเป็นบุคลากรที่มีทักษะ
- ความรู้ในองค์กร : มีการจัดระเบียบรวบรวมอย่างเป็นระบบ พร้อมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
- องค์กร : เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีความเข้มแข็ง พร้อมสู่ การแข่งขันและปรับตัวเพื่อความอยู่รอดอยู่เสมอ
ประโยชน์ของ KNOWLEDGE MANAGEMENT
2. ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอดขององค์กร
2. ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอดขององค์กร
3. เป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาและเพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถ รวมถึงฝีมือของบุคลากรในองค์กรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
4. ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกด้วยตนเอง ช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน ประหยัดเวลาและทรัพยากรที่ใช้ในการทำงานได้มากกว่า
5. ก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ ค้นคว้า แบ่งปัน แลกเปลี่ยน ยอมรับฟังความคิดเห็น และถ่ายทอดความรู้กันซึ่งกันและกันภายในองค์กร เพื่อนำมาซึ่งผลลัพธ์ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ช่วยสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นภายในองค์กรด้วย
7. ทำให้เกิดแหล่งเรียนรู้ภายในองค์กร สามารถเรียนรู้และใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว
8. เพิ่มความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และต่อยอดความรู้เดิม จนสร้างเป็นชิ้นงาน, ผลงาน, สิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับองค์กร
9. ได้เรียนรู้ความผิดพลาดของคนอื่นซึ่งเป็นบทเรียนที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อเรียนรู้ ป้องกัน ต่อยอด และหาวิธีแก้ไขใหม่ๆที่ดีกว่า ยั่งยืนกว่า
10. ช่วยให้บุคลากรในองค์กรมีแหล่งการเรียนรู้ ศึกษา และพัฒนาตนเองตลอดเวลา
11. เพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับผลผลิต หรือสินค้าขององค์กร
12. ทุกคนในองค์กรมีสิทธิ์ในการเรียนรู้เท่าเทียมกัน
“จะดีแค่ไหน ถ้าเรามี Tools สำหรับ Knowledge Management”
ประโยชน์จากระบบ SEED
- ช่วย HR ในการอบรมพนักงาน
- ลดระยะเวลการอบรม พนักงานสามารถศึกษาได้ด้วยตัวเอง
- HR ตรวจสอบหัวข้อการศึกษาของพนักงานได้ทันที